NO GIFT POLICY
แจ้งประชาสัมพันธ์เจ้าหน้าที่กองกฎหมาย
งดให้ งดรับของขวัญ ของฝาก หรือของกำนัล
จากการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในเทศกาลปีใหม่และทุกเทศกาล
Clip Video แผนส่งเสริมคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
1.พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565
***ยกเลิก ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565
4. เอกสารประกอบโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมาย
5. เอกสารเตรียมความพร้อมประมวลกฎหมายยาเสพติด
1) แบบคำร้อง
3) แบบรายงานประสงค์จะยื่นคำร้อง
4) แบบรายงานไม่ประสงค์จะยื่นคำร้อง
สถิติผู้ต้องขังที่ยื่นคำร้องขอกำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
จำนวน 141,950 ราย (ร้อยละ 100) ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2566
ศาลแจ้งผลการพิจารณากลับมา จำนวน 82,579 ราย (ร้อยละ 58.17)
– เปลี่ยนแปลงโทษได้รับการปล่อยตัว จำนวน 4,035 ราย (ร้อยละ 2.84)
– เปลี่ยนแปลงโทษได้รับการลดโทษ จำนวน 25,748 ราย (ร้อยละ 18.14)
– ยกคำร้องคงโทษเดิม จำนวน 52,796 ราย (ร้อยละ 37.19)
อยู่ในระหว่างพิจารณาคำร้อง (โดยประมาณ) จำนวน 59,371 ราย (ร้อยละ 41.83)
**หมายเหตุ ข้อมูลสถิติด้านจำนวนอาจมีการเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากผู้ต้องขังบางรายประสงค์ยื่นคำร้องและดำเนินด้วยตนเอง
โดยมอบหมายให้ญาติ/ทนายความดำเนินการแทนให้
คำถามที่พบบ่อย
- อยู่ในข่ายได้รับประโยชน์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ในกรณีที่คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว หากเป็นผู้กระทำความผิด ที่ยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง****
* ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิหากผู้ต้องขังจะยื่น เป็นเรื่องของผู้ต้องขังกับศาล เพราะเป็นเรื่องของการปรับพฤติการณ์กับอัตราระวางโทษ ของศาล
****ดูในตารางสรุปขั้นสูงในเอกสารเตรียมความพร้อม
*ฎ.2809/2556 การจะนำโทษตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดมากำหนดโทษใหม่ในคดีที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วนั้น จะต้องปรากฎว่าโทษทีกำหนดตามคำพิพากษาถึงที่สุดหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีน แล้วลดโทษให้จำเลยที่ ๑ กึ่งหนึ่ง คงจำคุก ๒๕ ปี การกำหนดโทษตามคพิพากษาดังกล่าวจังอยู่ในระวางโทษตามบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ถือไม่ได้ว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในเกณฑ์ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓ (๑) ที่ศาลจะกำหนดโทษให้จำเลยทั้งสองใหม่ได้
- ใครเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอกำหนดโทษใหม่แก่ศาล ตามมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ตอบ – สำนวนความปรากฏแก่ศาล
– ผู้กระทำผิด****
– ผู้อนุบาล /ผู้แทนโดยชอบธรรม
– พนักงานอัยการ
- การกำหนดโทษใหม่ จะได้หรือไม่ เพียงใด
ตอบ ศาลเป็นผู้มีดุลยพินิจพิจารณาเป็นรายคดีไป
- กำหนดโทษตามคำพิพากษา คือกำหนดโทษใด
ตอบ กำหนดโทษตามคำพิพากษา ฉบับแรก ก่อนลดโทษ
- ผู้ต้องต้องขังระหว่างพิจารณา จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ คดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา ศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะนำกฎหมายใดบังคับใช้แก่คดีนั้น
- ผลของการที่ศาลกำหนดโทษใหม่ เป็นอย่างไร
ตอบ เป็นการแก้ไขกำหนดโทษตามคำพิพากษา หากผู้ต้องขังเข้าเงื่อนใขตามกฎหมายราชทัณฑ์ ก็นำไปพิจารณาต่อไป (อภัยโทษ พักโทษ ลดวันต้องโทษ)
8. หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประมวลกฎหมายยาเสพติดกรุณาติดต่อสำนักงานป.ป.ส. เพื่อความถูกต้องชัดเจน
ตอบ สำนักงาน ป.ป.ส
โทรศัพท์: 0 2245 9087
โทรสาร: 0 2245 9413
E-mail: saraban_lad@oncb.go.th